Boostblood

เกล็ดเลือดต่ำ แนะนำอาหารเสริม โรคเกล็ดเลือดต่ำ Iron Booster บำรุงเลือด สร้างเกล็ดเลือดสำหรับผู้มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำและโรคโลหิตจาง

วิธีดูแลตัวเอง ถ้าเป็นเกล็ดเลือดต่ำ


ดูแลตนเองอย่างไรดี เมื่อมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ควรระวังการกระแทกแรงๆหรือการทำให้เกิดบาดแผล มีเลือดออก เช่นการแปรงฟันแรงเกินไป หลีกเลี่ยงงานที่มีความเสี่ยง อย่างการทำงานในที่สูง การแข่งรถ เพื่อป้องการการเกิดอุบัติเหตุ เสียเลือด นอกจากนี้เมื่อต้องพบแพทย์ควรแจ้งทุกครั้งว่าตนเองมีภาวะ เกล็ดเลือดต่ำ เช่น การถอนฟัน การผ่าตัด ทานยาตามคำแนะนำแพทย์ และหันมาใส่ใจสุขภาพทั้งในเรื่องอาหาร การออกกำลังกายที่พอเหมาะและการพักผ่อน อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ต้องการสารอาหารที่ช่วยในการสร้างเลือด คือ Vitamin E เช่น อาหารทะเล จมูกข้าว ข้าวกล้อง ไข่ เมล็ดพืชและถั่ว Vitamin K เช่น เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว มันฝรั่ง และ อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เป็นโรคนี้มีความจำเป็นที่ต้องการรับบริจาคเกล็ดเลือดอย่างมาก หากมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำมาก มีบาลแผล หรือต้องได้รับการผ่าตัด เกล็ดเลือดที่รับการบริจาคต้องมาจากคนอย่างน้อย 6-8 คนจึงจะเพียงพอที่จะไปหยุดเลือดที่ไหลได้ และผู้ป่วยบางรายต้องการเกล็ดเลือดใหม่มาทดแทนทุกๆสัปดาห์ ทุกวันนี้โลหิตที่ได้รับบริจาคไม่เพียงพอต่อจำนวนของผู้ป่วย อยากเชิญชวนไปร่วมกันบริจาคโลหิตตามสถานพยาบาลใกล้บ้านกันค่ะ การบริจาคโลหิตในแต่ละครั้งจะช่วยต่ออายุผู้ป่วยได้จำนวนไม่น้อยค่ะ ปัจจัยในการเสี่ยงของการเป็นโรค เกล็ดเลือดต่ำ หากพูดถึง โรคเกล็ดเลือดต่ำ บางคนอาจจะนึกถึงตอนมีอาการเลือดกำเดาไหลออกมา แต่คงไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุอะไร บ้างก็ว่าจากความร้อนจนทำให้เส้นฝอยในจมูกแตกจากอากาศที่ร้อนจัด ส่งผลทำให้เลือดออกนานเกิน 15 นาที บางคนอาจจะมีจุดแดงๆ ขึ้นที่บริเวณผิว ซึ่งดูเผินๆคล้ายกับรอยยุงกัด ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเป็นการบ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นโรค แต่โรคนี้จะมีสาเหตุเกิดมาจากอะไร และจะมีวิธีในการป้องกันโรคได้อย่างไรกันบ้าง ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค เกล็ดเลือดต่ำ สาเหตุของการเกิดของโรคเกล็ดเลือดต่ำอาจจะไม่ระบุเป็นที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคเกล็ดเลือดต่ำได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการได้รับเชื้อไวรัสบางชนิดเข้าสู่ร่างกาย และมีการฟักตัวจนเกิดเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ หรือแม้แต่ผู้ที่อยู่ในภาวะโลหิตจาง หรือโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งทำให้จำนวนเม็ดเลือดแดงมีลดจำนวนลง ร่างกายมีการเสียเลือดมากจากการเกิดอุบัติ เหตุต่างๆ และผู้ที่มีปัญหาเป็นโรคเกี่ยวกับเลือดต่างๆ อย่างการมีเลือดออกแบบผิดปกติ หรือเป็นโรคซีด หรืออาจจะเกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เต็มไปด้วยมลภาวะในอากาศ โรคนี้เกิดจากกรรมพันธุ์ ที่มีคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค เกล็ดเลือดต่ำ การได้รับสารเคมีบางอย่างจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และการรับประทานอาหารที่มีสารเคมีปะปนอยู่ อีกทั้งผู้ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือระบบน้ำเหลืองต่างๆ ผิดปกติ และผู้ที่อยู่ในภาวะภูมิต้านทานโรคบกพร่อง หรือร่างกายอ่อนแอจนไม่สามารถต่อสู้กับโรคต่างๆ ได้ โรคเกล็ดเลือดต่ำยังเกิดขึ้นได้กับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำ และเกิดจากเซลล์พลาสม่าที่ผิดปกติ ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างแอนติบอดี้ได้ เม็ดเลือดแดงเกิดการแตกแบบฉับพลัน ทำให้ภาวะที่ร่างกายขาดธาตุเหล็ก และอาจมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร และผู้ที่ป่วยด้วยโรค Sle หรือโรคภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง ฯลฯ วิธีการป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากการเป็นโรค เกล็ดเลือดต่ำ จะต้องหมั่นระมัดระวังตนเองจากการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาวะเลือดไหลไม่หยุด และหากต้องการจะทำการถอนฟัน หรือทำการรักษาโรคใดๆ ควรแจ้งแพทย์เสมอว่าตนเป็นโรค เกล็ดเลือดต่ำ และต้องไม่ออกกำลังกายที่เสี่ยงต่อภาวะของการเกิดการกระแทกที่จะทำให้เลือดออกได้ง่าย ซึ่งอาจเปลี่ยนกิจกรรมไปเป็นการว่ายน้ำแทน ที่สำคัญควรรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์

อาการของภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของเม็ดเลือดที่อยู่ในกระแสเลือด ซึ่งในกระแสเลือดของเรานั้นมีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด โดยมีหน้าที่สำคัญทำให้เลือดอยู่ในภาวะปกติ และต้องไม่ทำให้เกิดเลือดออกง่าย แต่หยุดยาก ซึ่งจำนวนและหน้าที่ของเกล็ดเลือดจะต้องปกติ คนที่มีภาวะ เกล็ดเลือดต่ำ เพียงเล็กน้อยอาจไม่มีอาการอะไร และไม่มีเลือดออกที่ใดให้เห็น หากแต่เมื่อเกล็ดเลือดต่ำถึงระดับหนึ่งแล้ว จะมีอาการที่ชัดเจนคือเลือดออก ซึ่งอาการเลือดออกจาก เกล็ดเลือดต่ำ มักเกิดที่บริเวณผิวหนังที่เป็นจุดๆ เหมือนมีเลือดออกแดงๆ คล้ายกับยุงกัด กดแล้วไม่จางหายไป บางคนมีอาการเป็นจ้ำเลือดออกตื้นๆ ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกว่าพรายย้ำ อาการเลือดออกจาก เกล็ดเลือดต่ำ ที่เป็นจ้ำเลือดปกติ หากคลำดูจะเรียบแต่อาจจะมีไตแข็งเท่ากับเมล็ดถั่วเขียว ซึ่งอยู่ตรงกลางจ้ำเลือดซึ่งจะมีสีม่วงปนเหลืองเนื่องจากเม็ดเลือดแดงที่อยู่ในตำแหน่งเลือดออกจะแตกตัวเป็นสารสีเหลืองทำให้สีจ้ำเลือดจะไม่สม่ำเสมอ แล้วแต่การแตกตัวของเม็ดเลือดแดงก่อนหลัง หากมีจ้ำเป็นสีน้ำตาลเสมอกันอาจไม่ใช่จ้ำเลือด อาจเกิดจากการแพ้ยาบางชนิด ซึ่งบางคนอาจมีเลือดออกแถวบริเวณเยื่อเมือกบุในช่องปาก หรือเลือดออกที่เหงือก ส่วนในหญิงที่มีประจำ เดือนอาจมีเลือดประจำเดือนออกมากผิดปกติ แต่บางคนปัสสาวะออกมาเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระมีเลือดปน

© Copyright Jamesrussell69